ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาฐานราก
1. สำรวจตรวจสอบอาคารโดยวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินปัญหาของการทรุดตัว
เมื่อทราบถึงสาเหตุและปัญหา วิศวกรจะทำการประเมินน้ำหนักบรรทุกของอาคาร (Column Load) แล้วจึงกำหนดตำแหน่งที่จะทำการเสริมฐานราก-จำนวนเสาเข็ม ทั้งนี้การเสริมฐานรากอาจเลือกทำเฉพาะตำแหน่งที่มีความเสียหาย (Partially Underpinning) แต่ในกรณีทีอาคารเกิดการทรุดเอียงตัว-เสียหายมากอาจจำเป็นต้องทำทุกตำแหน่ง (Completely Underpinning)
2. ขุดเปิดพื้นที่ในการทำงานใกล้ตำแหน่งฐานรากเดิม ความลึกประมาณ 1.5 เมตร ความกว้างประมาณ 1 เมตร
3. ติดตั้งบ่าเสาเข็มที่ทำจากแผ่นเหล็กกันสนิม โดยการติดตั้งต้องกำหนดให้หน้าสัมผัสระหว่างคอนกรีตและบ่าเสาเข็มมีความเรียบสม่ำเสมอกัน
4. ติดตั้งเครื่องระบบไฮดรอลิกเข้ากับบ่าเสาเข็ม แม่แรงไฮดรอลิกที่ใช้ในการกดเสาเข็ม ต้องผ่านการสอบเทียบ(Calibration) โดยหน่วยงานซึ่งเป็นที่ยอมรับ
5. ทำการกดเสาเข็มไมโครไพล์ที่มีลักษณะเสาเข็มเหล็กแบบกลม ซึ่งตรงกลางเป็นรูกลวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว และมีการเคลือบกันสนิม ลงสู่ชั้นดินทีละท่อน ท่อนละ 1 เมตร แล้วทำการกดเสาเข็มจนกระทั่งได้ความลึกตามที่วิศวกรกำหนดไว้
6. เมื่อทำการกดเข็มได้ความลึกตามที่วิศวกรกำหนด จะใช้แผ่นเหล็กยึดน๊อตให้แข็งแรง
7. เทคอนกรีตปิดหน้างาน การเสริมฐานรากควรอยู่ในความควบคุมดูแลของวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์